09/07/2022
Share

ในสมัยที่ผู้เขียนเรียนระดับอุดมศึกษาเป็นนักศึกษาเอกศิลปกรรม สิ่งที่ชอบทำมาโดยตลอดก็คือศึกษา และ ติดตามผลงานศิลปะของศิลปินหลาย ท่าน ทั้งไทย และ ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม จัดวาง วีดีทัศน์ ฯลฯ ศิลปินที่สร้างงานที่มีคุณภาพเหล่านั้นล้วนแล้วแต่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เขียนได้จินตนาการตามผลงานที่ศิลปินท่านนั้น ได้สื่อออกมาเป็นผลงานศิลปะอันน่าประทับใจให้ผู้เขียนได้ใคร่ครวญถึงสิ่งที่ศิลปินได้ถ่ายทอดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางตรง ทางอ้อม ที่ออกมาเป็นรูปธรรม หรือ นามธรรม ก็แล้วแต่สรรสร้างสุนทรียะให้ผู้เขียนได้เกิดระลอกแห่งการใช้ความคิดพิจารณา เกิดจินตภาพล่องลอยไปตามผลงานเหล่านั้นแทบทั้งสิ้น

 

พี่หนึ่งหรือคุณธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ก็เป็นศิลปินที่คุ้นชื่อเป็นอย่างดีสำหรับผู้เขียน เพราะตั้งแต่สมัยเรียนอุดมศึกษาฯ ก็มีโอกาสที่จะเห็นผลงานจิตกรรมของคุณธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ อยู่ตลอด โดยต่อไปผู้เขียนจะขอเรียกว่าพี่หนึ่งละกันนะครับเพื่อฟังดูเป็นกันเองมากขึ้น พี่หนึ่งเป็นคนที่สร่างผลงานศิลปะของตนเองออกมาให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้เขียนก็ได้มีโอกาสไปชมงานแสดงค่อนข้างบ่อย

 

 

นอกจากลายเส้นที่แฝงสภาวะอันหนึกแน่น ชัดเจน มั่นคง และ ดุดัน หากแต่ว่ามีความอ่อนช้อยแทรกเข้ามาอย่างลงตัวให้ได้ชมแล้วนั้น ในการสร้างผลงานของพี่หนึ่งในแต่ละครั้งมักจะมี “Gimmick”  เล็ก น้อย แทรกเข้ามาในงานให้ค้นหาตลอด อย่างเช่นผลงานจิตรกรรมแบบไทยประเพณี ที่ใช้มุมมองแบบภาพไทยโบราณ แสดงเรื่องราววิถีชีวิตของชาวชนบทล้านนา นอกจากเรื่องราว และ ความสวยงามที่ได้ชมก็จะมีสัญลักษณ์ที่เป็นอักษรมงคลแทรกเข้าไปในนั้นแบบกลมกลืน หากมองผ่าน อาจจะมองไม่เห็นนัยยะทีแฝงในนั้น แต่หากเพ่งพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเราจะเห็นอะไรหลาย อย่างที่ศิลปินสอดแทรกเข้าไปในผลงานให้ได้ค้นหากันมากมายทีเดียว ซึ่งสิ่งนี้ผู้เขียนก็ถือว่าเป็นสิ่งสนุกที่ได้มาชมผลงานของพี่หนึ่งในทุก ครั้ง

 

ในนิทรรศการศิลปะ “1 ความเชื่อ 2 กาลเวลา One Faith – Past and Present”

เป็นนิทรรศการศิลปะของ คุณธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์ ที่บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย (จริง จัด 2 ที่นะครับ แต่อีกที่ผมค่อยเอามาเขียนเป็นอีกบทความละกัน) เป็นอาคารโบราณ อายุ 103 ปี เป็นอาคารตึกซีเมนต์ผสมไม้ ซึ่งเป็นบ้านของมิชชันนารี OMF ออกแบบโดยนายแพทย์วิลเลียม เอ.บริกส์ หรือ หมอบริกส์ ที่คนเชียงรายสมัยก่อน นิยมเรียกกัน โดยชั้นล่างจะเปิดเป็นค่าเฟ่ต์สไลต์ร่วมสมัยเก๋ ส่วนชั้นที่ 2 จะจัดแสดงผลงานศิลปะ

 

ดังนั้นใครที่อยากเข้ามาชมงานนิทรรศการศิลปะฯ แล้วล่ะก็ เปิดเข้ามาเจอร้านกาแฟก็อย่าเพิ่งคิดว่าตัวเองเข้ามาผิดที่กันก่อนนะครับ ในค่าเฟ่ต์ก็จะมีป้ายบอกทางขึ้นชั้น 2 ที่มีการจัดแสดงงานอย่างชัดเจนให้เห็น ดังนั้นหากคุณอยากจะชาร์ตพลังโดยการเติมคาเฟอีนก่อนก็ย่อมได้ หรือ มีพลังงานล้นเหลืออยู่แล้วก็สามารถขึ้นไปชมงานชั้น 2 ได้เลยทันที เมื่อคุณขึ้นไปแล้วสิ่งแรกที่คุณจะเห็นก็คือห้องแสดงงานแบ่งเป็น 3 ห้องให้ได้เลือกเข้าไปชมงาน หากจะให้ผู้เขียนแนะนำ ผู้เขียนก็ขอบอกว่าให้เข้าห้องทางขวามือก่อนเป็นอันดับแรก เพราะห้องขวามือจะแสดงผลงานชุดที่เป็นต้นตอของงานจิตรกรรมในยุคที่เป็นงานบ้านชนบทล้านนา หลังจากนั้นก็แนะนำให้เข้าห้องตรงกลาง ห้องกลางนี้ผู้เขียนขอเรียกว่าห้องรอยต่อจะเป็นผลงานจิตรกรรมที่แฝงกลิ่นอายของงานก่อนหน้านั้นให้ความเชื่อมโยงของผลงานได้อย่างมีจังหวะจะโคน

 

ส่วนห้องทางซ้ายสุดผู้เขียนขอเรียกว่าห้องต่อยอดจะเป็นผลงานที่เห็นได้ชัดเจนว่ามีความลื่นไหลอย่างกลมกลืนกับงานชุดที่เราชมผ่าน มา หรือ หากใครอยากจะเข้าชมห้องด้านซ้ายก่อนก็ไม่ว่ากัน คุณก็จะได้รับรู้ความรู้สึกอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนจะขอเรียกว่าย้อนทวน  เพราะเหมือนเป็นการชมน้ำตกจากชั้นสูงสุดของน้ำตกมายังปลายน้ำ คุณก็จะได้รับสุนทรียะอีกแนวทางหนึ่งนั่นเอง

 

โดยความหมายของภาพ เทคนิค วิธีการ แนวคิดคิดต่าง ผู้เขียนขอไม่เล่าในบทความนี้ เพราะอยากให้คุณผู้อ่านได้ไปชมด้วยตนเอง การเล่าในที่นี้อาจจะเป็นตัวสร้างกรอบความคิดให้กับผู้อ่านก็เป็นไปได้ (การมาชมด้วยตนเองถ้าโชคดีก็อาจจะเจอตัวศิลปินมานำชมผลงานด้วยตัวเองก็เป็นได้ครับ) หรือ ถ้าไม่สามารถมาชมผลงานด้วยตัวเองแล้วล่ะก็ ผมเชื่อว่าภาพบางส่วนที่นำมาลงในบทความก็สามารถทำให้คุณผู้อ่านได้เห็นถึงสุนทรียะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ รับรู้ถึงพลังของศิลปินที่ถ่ายทอดลงสู่สื่อที่เป็นภู่กัน และ จรดลงบนแผ่นกระดาษจนออกมาเป็นผลงานศิลปะอันน่าทึ่ง แต่เชื่อเถอะครับว่าภาพที่ได้เห็นกับผลงานของจริงนั้นเทียบกันไม่ได้เลย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่อยากให้คุณได้มาชมด้วยตนเอง

 

นิทรรศการ “1 ความเชื่อ 2 กาลเวลา One Faith – Past and Present”

ของ คุณธัญพิสิษฐ์ แสนจันทร์

จัดแสดงระหว่างวันที่ 20 มีนาคม – 1 พฤษภาคม 2564 สถานที่ แกลเลอรี่ชั้น 2 บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย เชียงราย

เปิดทุกวัน 10.00 . – 16.00 . เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย


Share